mardi 28 septembre 2010


ข้าวแต๋น เป็นของหวานทานเล่นของชาวภาคเหนือ อีกทั้งเป็นของฝากสำคัญของภาคเหนือและจังหวัดเชียงใหม่    
ตำบลป่าตอง อำเภอสันทราย มีการอนุรักษ์ ข้าวแต๋นไว้เป็นผลิตภัณฑ์ประจำตำบล โดยการจัดทำข้าวแต๋นเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP บรรจุภัณฑ์สวยงาม และเป็นที่ขึ้นชื่อของจังหวัดเป็นอย่างมาก
                แต่ในปัจจุบัน ข้าวแต๋นที่นิยมมาช้านานกลับไม่เป็นที่รู้จักและไม่เป็นที่นิยมดังเช่นที่ผ่านมาเนื่องจากรสชาดและรูปลักษณ์ของข้าวแต๋นไม่มีความหลากหลายแตกต่างกับขนมต่างๆที่วางขายในท้องตลาด คณะผู้จัดทำจึงเล็งเห็นความสำคัญในการนำข้าวแต๋นมาแปรรูปใหม่  เพื่อเป็นทางเลือกใหม่แก่ผู้บริโภค   ประกอบกับสังคมในยุคปัจจุบัน ผู้คนหันมาสนใจในอาหารเสริมสุขภาพมากยิ่งขึ้น  คณะผู้จัดทำจึงเลือกใช้ข้าวแต๋นมาแปรรูปโดยการนำเอาธัญพืชต่างๆที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมาผสมกับข้าวแต๋น  มีรสชาติที่อร่อย  มีคุณค่าทางโภขนาการ สามารถรับประทานได้ทุกเพศทุกวัย  อีกทั้งยังเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น อนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน และยังเป็นการให้ความรู้แก่บุคคลที่สนใจและผู้ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสในการสื่อสารอีกด้วย



1. เพื่อสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับข้าวแต๋นมานำเสนอเป็นภาษาไทยและภาษาฝรั่งเศสเผยแพร่สู่ชุมชนโลก ผ่านทาง http://www.kruparichat.blogspot.com
2.เพื่อพัฒนาทักษะการใช้ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสาร
 3. เพื่อคิดค้นวิธีการเพิ่มมูลค่าของข้าวแต๋นโดยนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาประยุกต์ให้ทันต่อยุคสมัยทั้งด้านรสชาติและคุณค่าทางโภชนาการ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค



ผู้จัดทำมีการพัฒนาการใช้ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสารเพิ่มมากขึ้นตามศักยภาพของตนเอง





การทำข้าวแต๋น จากข้าวเหนียวผสมธัญพืชที่ให้คุณค่าทางโภชนาการแก่ผู้บริโภค
สถานที่  143 หมู่ 2  บ. ป่าตอง  ต. สันทรายหลวง  อ.สันทราย  จ. เชียงใหม่




ในห้องเรียน
 สัปดาห์ที่1
วันที่ 2 สิงหาคม 2553
        -     ระดมความคิดภายในกลุ่มคิดหัวข้อโครงงาน
       -      สรุปหัวข้อโครงงานที่จะทำคือ ข้าวแต๋น
       -     ปรึกษากันเรื่องสถานที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำข้าวแต๋น
       -      ตั้งชื่อโครงงานของแต่ละกลุ่ม
วันที่ 3 สิงหาคม 2553
-         วางโครงร่างโครงงาน
-         มอบหมายงานให้ทุกคนในกลุ่ม
-         ศึกษาคำศัพท์ภาษาฝรั่งเศสที่ใช้ในการทำโครงงาน
  วันที่ 4 สิงหาคม 2553
       -    ติดต่อสถานที่ให้ความรู้เรื่องข้าวแต๋น (ป้าแดง)
       -     ขอความอนุเคราะห์คุณครูที่ปรึกษากลุ่มสาระวิทยาศาสตร์เป็นครูที่ปรึกษาร่วมโครงงาน
     -   ส่งบัตรขอความอนุเคราะห์คุณครู สุณี ครุฑแตง

สัปดาห์ที่ 3
วันที่ 24 สิงหาคม 2553
-         เรียบเรียง/รวบรวมข้อมูลโครงงานเป็นภาษาฝรั่งเศส
-         ส่งรูปเล่มโครงงาน

สัปดาห์ที่ 4
วันที่ 30 สิงหาคม 2553
-         แก้ไขโครงงานครั้งที่ 1
-         ส่งโครงงานให้คุณครูที่ปรึกษาร่วมโครงงานตรวจอีกครั้ง
วันที่ 31 สิงหาคม 2553
-         เรียนรู้การทำ blog
-          ออกแบบ blog

 สัปดาห์ที่ 5
 วันที่ 6 กันยายน 2553
-         รวบรวมข้อมูล จัดทำลง blog
-         เก็บรายละเอียดโครงงาน
-         ตรวจรูปเล่มโครงงาน
     วันที่ 7 กันยายน 2553
-         ส่งรูปเล่มโครงงาน
-         ตรวจสอบคำศัพท์ภาษาฝรั่งเศสอีกครั้ง

สัปดาห์ที่ 6
วันที่ 13 กันยายน 2553
-         จัดเตรียมงานที่นำเสนอ
-         ฝึกการนำเสนอ  ภาษาฝรั่งเศส
วันที่ 14 กันยายน 2553
-         ฝึกการนำเสนอ  ภาษาไทย/โครงงาน
-         เก็บรายละเอียดโครงงานครั้งสุดท้ายพร้อมนำเสนอคุณครูปาริชาติ

สัปดาห์ที่ 7
วันเสาร์   ที่ 14 กันยายน 2553
 -   นำเสนอโครงงาน

นอกห้องเรียน
สัปดาห์ที่ 2
ช่วงวันหยุด 10วัน
- วันที่ 13-14  สิงหาคม 2553 เรียนรู้วิธีการทำข้าวแต๋น ที่หมู่บ้านป่าตอง (บ้านป้าแดง)
-  วันที่ 15 สิงหาคม 2553 สมาชิกในกลุ่มช่วยกันคิดค้นวิธีการทำข้าวแต๋นแปรรูปและประโยชน์ของธัญพืชที่ใช้ตกแต่งหน้าข้าวแต๋นที่เวปไซต์ต่างๆ

ช่วงวันหยุด เสาร์-อาทิตย์
-  วันที่ 26 สิงหาคม 2553  ฝึกการทำข้าวแต๋นสูตรใหม่ที่บ้านนางสาวนัฐพร ขันตุ้ย (สมาชิกในกลุ่ม)
-  ค้นหาคำศัพท์ภาฝรั่งเศส เกี่ยวกับ วิธีทำข้าวแต๋น,ส่วนผสม,และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ที่ http://www.teteamodeler.com/cuisine/recette-cuisine-dessert/recette-biscuits-petits-gateau-muffin/cookies-chocolat.asp
  -วันที่ 30 สิงหาคม 2553หัดทำข้าวแต๋นแปรรูปที่คณะผู้จัดทำโครงงานคิดค้นขึ้นเพื่อนำไปให้คุณครูที่ปรึกษาโครงงานและเพื่อนๆในชั้นเรียนได้ลองรับประทาน
   -วันที่ 4 กันยายน 2553 ศึกษาวิทีการสร้าง blog



1.    ห้องสมุดโรงเรียน
2.    ห้องสมุดประชาชน
3.    ห้องสมุดมหาวิทยาลัย
4.    แหล่งเรียนรู้ที่เป็นบุคคล
5.    แหล่งเรียนรู้ที่เป็นสถานที่